3. การใช้การะดานดำ

3.การใช้กระดานดำ

เทคนิคการใช้กระดานดำ

ความหมาย
            กระดานดำ  หมายถึง  กระดานใหญ่มักทาสีดำ  ใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ  ความรู้ และประสบการณ์
            เทคนิคการใช้กระดานดำ  หมายถึง  กลวิธีในการเขียนหรือวาดตัวอักษร  ภาพ  สัญลักษณ์  หรือลายเส้นต่าง ๆ บนกระดานที่ใช้เป็นอุปกรณ์การสอนได้อย่างมีระบบ  สะอาด  เรียบร้อยและเข้าใจง่าย

วัตถุประสงค์ของการใช้กระดานดำ
  1. เพื่อใช้ประกอบคำอธิบาย
  2. เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความรู้
  3. เพื่อเสริมการใช้สื่ออุปกรณ์อื่น ๆ เช่น โปรเจคเตอร์
  4. เพื่อใช้ประกอบจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ติดภาพ

ประโยชน์ของกระดานดำ
  1. ใช้ประกอบการเรียนการสอน
  2. นักเรียนได้แสดงวามคิดเห็น
  3. ใช้ร่วมกับสื่ออุปกรณ์อื่น ๆ เช่น โปรเจคเตอร์
  4. ใช้แสดงคำศัพท์ใหม่ ๆ คำนิยามเพื่อให้นักเรียนเข้าใจได้ดี
  5. เพื่อใช้ประกอบจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ติดภาพ

คุณสมบัติเด่นของกระดานดำ
  1. ใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา
  2. ชำรุดเสียหายยาก
  3. นักเรียนมองเห็นได้อย่างชัดเจน
  4. เขียนและลบได้ง่าย
  5. เสนอข้อคิดใหม่ได้ทันที
  6. ใช้ได้ทั้งครูและนักเรียน

เทคนิคการใช้กระดานดำ
1.   ก่อนใช้ต้องคำนึงถึงความสะอาดของกระดานดำ
2.   เขียนตัวหนังสือขนาดพอเหมาะ
3.   เขียนจากซ้ายไปขวา
4.   เลือกเขียนเฉพาะหัวข้อที่สำคัญ
5.   เมื่อเขียนเสร็จต้องตรวจความถูกต้อง
6.   เมื่อขึ้นเรื่องใหม่ควรลบเรื่องเดิมก่อน
7.   เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมใช้กระดานดำด้วย
8.   ห้ามใช้คำย่อที่ครูคิดเอง
9.   อย่าใช้กระดานดำมากเกินไป
10. ควรลบกระดานดำเมื่อหมดคาบ  และไม่ควรลบกับมือ

ข้อคำนึงถึงในการใช้กระดานดำ
  1. ขอบล่างของกระดานดำควรอยู่ระดับสายตาของนักเรียน
  2. ที่นั่งของนักเรียนควรอยู่ในอาณาเขต 60 องศา  วัดจากกึ่งกลางของกระดานดำ
  3. นักเรียนที่นั่งแถวหน้าควรอยู่ห่างจากระดานดำ 3 เมตร
  4. มีแสงสว่างเพียงพอ
  5. คำนึงถึงการสะท้อนของแสงที่มากระทบกระดานดำ
  6. เขียนกระดานอย่างเป็นระเบียบ
  7. ไม่ควรเขียนกระดานนานเกินไป

สิ่งที่ครูควรปฏิบัติในการฝึกเทคนิคการเขียนกระดานดำ
  1. ศึกษาหลักการสำคัญในการเขียนกระดานดำ
  2. ฝีกเขียนกระดานดำให้ถูกต้อง
  3. ดูความเหมาะสม  หรือความบกพร่องของสิ่งที่เขียน
  4. ปรับปรุงแก้ไขเมื่อพบข้อบกพร่อง
ณรงค์  กาญจนะ. 2553. เทคนิคและทักษะการสอนเบื้องต้น เล่ม 1
          พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏส